ผลกรรมเมื่อผิดศีล 5
ผิดศีลข้อ 1
(ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนทำร้ายสัตว์
กักขังทรมานสัตว์)
ผลกรรมคือ
1.มักมีปัญหาสุขภาพ ขี้โรค มีโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย
รักษายุ่งยาก
2.มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ อาจมีอุปฆาตกรรม คือกรรมตัดรอน
ทำให้ตายก่อนอายุขัย
3.อาจพิกลพิการ มีปัญหาร่างกายไม่สมส่วน
ไม่สมประกอบ
4.กำพร้าพ่อแม่ คนใกล้ตัวโดนฆ่า
5.อายุสั้น ตายทรมาน
ตายแบบเดียวกับที่ไปฆ่าไปทรมานสัตว์ไว้
6.อัปลักษณ์
มีปมด้อยด้านสังขาร
แนะนำหนทางทุเลา :
ตั้งสัจจะว่าจะพยายามไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียน ไม่แกล้ง ไม่กักขัง ว่าง
ๆ ก็ไถ่ชีวิตสัตว์ เช่น ไปตลาดซื้อปลาที่เค้ากำลังจ
ะขายให้คนไปทำกินให้เราซื้อไปปล่อยในเขตอภัยทาน (ท่าน้ำของวัด) หรือ
ซื้อยาสมุนไพรยาแผนปัจจุบันไปให้ถวายพระที่วัด
หรือไปตามโรงพยาบาลทั้งของคนปกติและของสงฆ์เพื่อบริจ าคค่ารักษา
หรือรับอุปถัมภ์ค่ารักษาพยาบาลบริจาคเลือดและร่างกาย
ให้สภากาชาดไทยหรือตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และอื่น ๆ
ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง
ผิดศีลข้อที่ 2
(ลักทรัพย์ ขโมย ฉ้อโกง ยักยอก
ทำลายทรัพย์)
ผลกรรมคือ
1.ธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้า เจ๊ง ขาดทุน ฝืดเคือง
โดนโกง
2.มีแต่อุบัติเหตุให้เสียทรัพย์สิน
ต้องชดใช้ให้คนอื่นอย่างไร้เหตุผล
3.ทรัพย์หายบ่อย ๆ
หลงลืมทรัพย์วางไว้ไม่เป็นที่ หาก็ไม่เจอ
4.มีคนมาผลาญทรัพย์เรื่อย ๆ
ทั้งคนใกล้ตัวและคนทั่วไป
5.ลูกหลานแย่งชิงมรดก โดนลักขโมยบ่อย
ๆ
6.ตระกูลอับจนไม่มีที่สิ้นสุด
มีแต่คนมาทำลายทรัพย์
แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะไม่ยุ่งกับทรัพย์สินของคนอื่น หากอยากได้ให้ขอเสียก่อน
จนกว่าเจ้าของจะอนุญาตด้วยความเต็มใจ หมั่นทำบุญสังฆทาน บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟวัดเ
พื่อที่ศาสนาจะได้ไม่ขาดแคลนปัจจัย ส่งผลบุญให้เราไม่ขัดสน
มอบทุนการศึกษาแด่ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์
ผลบุญทำให้เรามีปัญญาที่จะหาทรัพย์อย่างสุจริตรวม
ทั้งต้องตั้งสัจจะที่จะมีสัมมาอาชีพ ไม่ฉ้อโกงใคร แม้แต่สลึงเดียวและอื่น ๆ
ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง
ผิดศีลข้อ 3
(ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกเมียเขา
ล่วงเกินบุตรธิดาของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต แย่งคนรักของคนอื่น
กีดกันความรักคนอื่น นอกใจคู่ครอง หลอกลวง ข่มขืน ค้าประเวณี ล่วงเกินทางเพศต่าง
ๆ)
ผลกรรมคือ
1.หาคู่ครองไม่ได้,ไม่มีใครเอา, หน้าตาอัปลักษณ์, โดนเพศตรงข้ามล้อเลียนจนมีปมด้อย
2.เป็นหม้าย, ผัวเมียตายจาก, ผัวหย่าเมียร้าง, คบใครก็มีเหตุให้หย่าร้างเลิกรา
3.คนรักนอกใจ, คนรักมีชู้, มีเมียน้อย, คบใครก็เจอแต่คนเจ้าชู้, โดนหลอกฟัน, ท้องไม่รับ, เสียตัวฟรี, โดนข่มขืน
4.ไม่มีมิตรจริงใจ, เพื่อนฝูงไม่รัก, พี่น้องก็ไม่รัก, พ่อแม่ทอดทิ้ง, ชีวิตขาดความอบอุ่น, มีแฟนก็ไม่มีใครจริงจังด้วย, ครอบครัวไม่อบอุ่น
5.มีความผิดปกติทางเพศ, ทางร่างกาย, ทางจิตใจ, ถูกกีดกันทางความรัก, สังคมไม่ยอมรับความรักของตน, มีความรักหลบ ๆ ซ่อน
ๆ
6.ต้องมีเหตุพลัดพรากจากคนรักและของรักอยู่เสมอ
(ก่อนเวลาอันควร)
แนะนำหนทางทุเลา :
ตั้งสัจจะว่าจะไม่ทำผิดเรื่องทางเพศ ไม่ทำให้ใครรู้สึกผิดหวังเสียใจในเรื่องความรัก
ไม่กีดกัน ไม่คิดแย่งหรือไปรักกับคนรักของใคร ไม่คิดทำร้ายความรู้สึกคนรัก
ไม่ล่วงเกินบุตรธิดาของใครก่อนได้รับอนุญาต รักเดียวใจเดียว ไม่นอกใจไม่มีกิ๊ก
พอใจในคู่ครองของตนเอง หมั่นทำบุญถวายเทียนคู่ให้วัด ถวายธงคู่ประดับวัด
ช่วยออกค่าใช้จ่ายงานแต่งงานและอื่น ๆ ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง
หรือให้ธรรมะด้านความรักแก่คู่รักที่รู้จักเอาใจใส่ค ู่ครอง
คนรักเอาใจใส่พ่อแม่ของตนเอง หากรักพ่อแม่เอาใจใส่พ่อแม่อย่างดีจะได้รับผลบุญ
ทำให้ความรักของเราสดใสไม่เจ็บช้ำหากทรมานพ่อแม่
ทำอย่างไรกับพ่อแม่ไว้ต่อไปชีวิตรักก็จะเลวร้ายพอ ๆ
กับความรู้สึกเสียใจของพ่อแม่ที่เราได้กระทำไว้
ผิดศีลข้อ 4
(โกหก ปลิ้นปล้อน กลับคำ ไม่มีสัจจะ หลอกลวงผู้อื่นใส่ร้ายผู้อื่น
ยุแยงให้คนแตกกัน ใช้วาจาดูหมิ่น พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ขี้โม้ นินทา ด่าทอ
ด่าพ่อล้อแม่ ด่าและเถียงผู้มีพระคุณ
ผิดสัญญาสาบานแล้วไม่ทำตาม)
ผลกรรมคือ
1.ปากไม่สวย
ฟันไม่สวย มีกลิ่นปาก
มีปัญหาเรื่องปากเรื่องฟันอยู่เนืองนิจ
2.มีแต่คนพูดให้เสียหาย
มีคนซุบซิบนินทาเรื่องของเรา
มีคนคอยใส่ร้ายดูหมิ่นและส่อเสียดเราอยู่เสมอ
3.ไม่มีใครจริงใจด้วย
มีแต่คนมาพูดจาหลอกลวง
ผิดสัญญาต่อเรา
4.เกิดในสังคมที่พูดแต่คำหยาบคำส่อเสียดปลิ้นปล้อน
นินทาอยู่เนืองนิจ เพียงตื่นมาก็พบเจอความไม่เป็นมงคล
(สังคมที่ปากไม่เป็นมงคล)
5.หลงเชื่อคนอื่นได้ง่าย โดนหลอกได้ง่าย
ไม่มีความระวังเวลาโดนโกหก
6.ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูดของเรา, เป็นคนที่พูดอะไรแล้วคนเมิน,พูดติดๆขัดๆ,
นึกจะพูดอะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ
แนะนำหนทางทุเลา : ตั้งสัจจะว่าจะไม่พลั้งปากโกหกหรือส่อเสียดนินทายุแย งใคร ไม่ด่าใคร
พูดตามความเป็นจริงทุกอย่าง สิ่งใดควรพูดก็ควรพูด ไม่ควรพูดก็อดทนไว้ ไม่ด่า ไม่เถี
ยง ไม่นินทาผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ให้คำสั ญญาใครไว้ต้องรักษา
อย่าสาบานอะไรพร่ำเพรื่อ ว่าง ๆ ก็ออกค่าใช้จ่ายให้ค่าทำฟันแก่คนยากคนจนและอื่น ๆ
ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง หมั่นให้สัจธรรมความจริงแก่คนทั่วไป พูดแต่ธรรมะ
สอนธรรมะอยู่เสมอ หมั่นพูดหรือเผยแพร่ธรรมะให้คนอื่นฟังบ่อย ๆ
ทำตัวให้มีธรรมะให้มีสัจจะพูดอะไรก็ไม่ผิดคำพูด ไม่กลับคำ ไม่หลอกลวงใคร
คนจะเชื่อถือมากขึ้น
ผิดศีลข้อ 5
(ดื่มของมึนเมา เสพยาเสพติด ให้ยาเสพติด ให้ของมึนเมา ขายของมึนเมา
ขายยาเสพติด)
ผลกรรมคือ
1.สติปัญญาไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม เรียนไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่จำ
อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจ
2.เกิดในตระกูลที่โง่เขลา
เต็มไปด้วยอบายมุข
3.หากกรรมหนักจะเกิดเป็นเอ๋อ ปัญญาอ่อน
เป็นโรคทางปัญญา
4.ลูกหลานสำมะเลเทเมา
มีลูกหลานติดยาเสพติด
5.เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ไม่มีสติระวัง
มีแต่ความประมาท
6.มักลุ่มหลงในสิ่งผิดได้ง่าย
เป็นคนที่โดนมอมเมาให้หลงใหลในสิ่งผิดได้ง่าย
(ขาดสติ)
แนะนำหนทางทุเลา :
ตั้งสัจจะว่าจะไม่ดื่มของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด
ไม่จำหน่ายจ่ายแจกของมึนเมาและยาเสพติดทุกชนิด หมั่นทำธรรมทาน
วิทยาทานให้ปัญญาความรู้แก่คนทั่วไปและอื่น ๆ
ตามแต่จะสะดวกและตามกำลัง

ศีล
ศีล แปลว่าปกติหรือเย็นเป็นปกติ แปลว่าปกติ คือเป็นไปตามปกติ ของกาย
วาจา ปราศจากเจตนาที่คิดคด แปลว่าเย็นนั้น คือทำให้ผู้มีศีลอยู่ในความร่มเย็น
ไม่มีภัย ไม่มีเวรกับผู้ใด เพราะฉะนั้นศีลจึงเป็นการรักษากายวาจาให้เป็นปกติ
เรียบร้อย ศีลทางกายเช่น ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่เสพเครื่องดองของมึนเมา ศีลทางวาจา เช่น
การละเว้นจากการพูดเท็จ,ส่อเสียด เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าศีลนั้นปราบปรามกิเลสอย่างหยาบ ที่ล่วงทางกาย
และทางวาจา ศีลมีหลายประเภทแบ่งอย่างละเอียด เช่น ศีลคฤหัสถ์ สำหรับอุบาสก,อุบาสิกา เช่น ศีลห้า (เบญจศีล) ศีลสามเณร สามเณรี เช่น ศีล 10
(ทศศีล) ศีลสิกขมานา ศีลภิกษุณี
(210 ข้อ) และศีลของภิกษุ (227
ข้อ) ถ้าแบ่งศีลอย่างย่อก็แบ่งเป็นสองประเภทคือ ศีลคฤหัสถ์ และศีลบรรพชิต
ศีล 5
ได้แก่
1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ละเว้นสังหาร
ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายสัตว์อื่น
2. อาทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ละเว้นจากการขโมยสิ่งของ
3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4.
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ละเว้นการพูดเท็จ โกหก หลอกลวง
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ละเว้นการเสพ เครื่องดอง
ของมึนเมา
ศีล 8
คือ อัฎฐศีล ถ้าสมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ์ เรียกว่า อุโปสถศีล ได้แก่
6.
วิกาลโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล
7.
นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสน มาลาคันธวิเลปน ธารณมัณฑนวิภูสนัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น
อันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
8.
อัจจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่
หรูหราฟุ่มเฟื่อย
ศีล 10
หรือทศศีล ได้แก่ ข้อ 1-8
เหมือนกับในศีลแปด เพิ่มอีกสองข้อคือ
9. มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้
ซึ่งเป็นเครื่องประดับ
10. ชาตรูปรชตปฎิคคหณา
เวรมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เว้นจากการรับเงินและทอง
ศีลจะขาดเพราะใจอย่างเดียวไม่ได้ เช่นนึกฆ่าสัตว์ เป็นต้น ศีลยังไม่ขาด
เพราะยังไม่ได้ประกอบด้วยกายวาจา แต่ถ้าฆ่าด้วยกายเรา หรือใช้เขาฆ่าด้วยวาจาเรา
อย่างนี้ศีลขาดเป็นความผิดบาป
|
